กระทรวงสาธารณสุข เตรียมเสนอแผนกำลังคนกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556-2560 เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขอกรอบจัดสรรตำแหน่งเพิ่มใหม่ทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาวรวม 76,769 อัตรา เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากร มิให้ส่งผลกระทบต่องานบริการประชาชน เพราะปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและลูกจ้างชั่วคราวลาออกอย่างต่อเนื่อง
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข ว่า กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยบริการใหญ่ที่ให้การดูแลสุขภาพประชาชน ซึ่งประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3 แสนคน ทำให้ภาระงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยในรอบ 3 ปี ตั้งแต่ 2549– 2552 มีผู้ป่วยนอกรับบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 คือจาก 148 ล้านครั้งเพิ่มเป็น 189 ล้านครั้ง ส่วนผู้ป่วยที่นอนรักษาในโรงพยาบาลในรอบ 4 ปี ตั้งแต่ 2549 – 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 คือจาก 4.5 ล้านครั้งเพิ่มเป็น 5.7 ล้านครั้ง ซึ่งเป็นภาระงานที่หนักมาก ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่องมาตรการการบริหารกำลังคนภาครัฐ พ.ศ. 2552-2556 ทำให้ได้รับการกำหนดตำแหน่งบรรจุข้าราชการเพิ่มใหม่ได้เฉพาะนักเรียนทุนรัฐบาล 3 สายงาน ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลวิชาชีพที่จบจากโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้นโดยตั้งแต่พ.ศ. 2547 ไม่ได้การจัดสรรตำแหน่งใหม่เพิ่ม และไม่ได้รับตำแหน่งเกษียณอายุคืนกลับมา บุคลากรที่จบการศึกษาใหม่จึงได้บรรจุเป็นข้าราชการน้อยลงเรื่อยๆ จำนวนลูกจ้างชั่วคราวในระบบมากขึ้น
นายวิทยากล่าวต่อว่า ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขได้ทบทวนภารกิจ โดยศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการกำลังคนด้านสาธารณสุข คิดตามภาระงานที่เกิดขึ้นจริงในการให้บริการประชาชนและนโยบายการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยเฉพาะการพัฒนารพ.สต. พบว่า กระทรวงสาธารณสุขมีความขาดแคลนกำลังคน โดยเฉพาะระดับปริญญา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสายวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยโดยตรง ไม่สามารถใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีมาทดแทนได้ พบว่าต้องการตำแหน่งบรรจุเพิ่มในพ.ศ. 2556-2560 รวม 76,769 อัตรา ประกอบด้วยในระยะเร่งด่วน พ.ศ.2555-2557 จำนวน 51,051 อัตรา และในระยะยาว พ.ศ. 2558-2560 ต้องการเพิ่มอีก 25,718 อัตรา
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข ว่า กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยบริการใหญ่ที่ให้การดูแลสุขภาพประชาชน ซึ่งประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3 แสนคน ทำให้ภาระงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยในรอบ 3 ปี ตั้งแต่ 2549– 2552 มีผู้ป่วยนอกรับบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 คือจาก 148 ล้านครั้งเพิ่มเป็น 189 ล้านครั้ง ส่วนผู้ป่วยที่นอนรักษาในโรงพยาบาลในรอบ 4 ปี ตั้งแต่ 2549 – 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 คือจาก 4.5 ล้านครั้งเพิ่มเป็น 5.7 ล้านครั้ง ซึ่งเป็นภาระงานที่หนักมาก ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่องมาตรการการบริหารกำลังคนภาครัฐ พ.ศ. 2552-2556 ทำให้ได้รับการกำหนดตำแหน่งบรรจุข้าราชการเพิ่มใหม่ได้เฉพาะนักเรียนทุนรัฐบาล 3 สายงาน ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลวิชาชีพที่จบจากโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้นโดยตั้งแต่พ.ศ. 2547 ไม่ได้การจัดสรรตำแหน่งใหม่เพิ่ม และไม่ได้รับตำแหน่งเกษียณอายุคืนกลับมา บุคลากรที่จบการศึกษาใหม่จึงได้บรรจุเป็นข้าราชการน้อยลงเรื่อยๆ จำนวนลูกจ้างชั่วคราวในระบบมากขึ้น
นายวิทยากล่าวต่อว่า ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขได้ทบทวนภารกิจ โดยศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการกำลังคนด้านสาธารณสุข คิดตามภาระงานที่เกิดขึ้นจริงในการให้บริการประชาชนและนโยบายการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยเฉพาะการพัฒนารพ.สต. พบว่า กระทรวงสาธารณสุขมีความขาดแคลนกำลังคน โดยเฉพาะระดับปริญญา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสายวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยโดยตรง ไม่สามารถใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีมาทดแทนได้ พบว่าต้องการตำแหน่งบรรจุเพิ่มในพ.ศ. 2556-2560 รวม 76,769 อัตรา ประกอบด้วยในระยะเร่งด่วน พ.ศ.2555-2557 จำนวน 51,051 อัตรา และในระยะยาว พ.ศ. 2558-2560 ต้องการเพิ่มอีก 25,718 อัตรา
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมเสนอเรื่องขออนุมัติตำแหน่งเพิ่มใหม่ ซึ่งเป็นตำแหน่งสำหรับลูกจ้างชั่วคราวเพื่อรักษากำลังคนในระบบ โดยในจำนวนนี้เป็นพยาบาลวิชาชีพเกือบ 20,000 อัตรา เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ใน 3 เรื่องคือ1.ขออนุมัติให้ยกเว้นหลักเกณฑ์และแนวทางการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการบริหารกำลังคนภาครัฐ พ.ศ.2552-2556 และขอยกเว้นการยุบตำแหน่งเกษียณตั้งแต่ พ.ศ.2555-2560 ขอคืนให้กระทรวงสาธารณสุข 2.ขอกำหนดกรอบความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพระยะเวลา 5 ปี พ.ศ.2556-2560 3.ขออนุมัติตำแหน่งเพิ่มใหม่ 76,769 อัตรา เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนและรองรับภาระงานที่เพิ่มขึ้นในหน่วยบริการสาธารณสุขนายวิทยา กล่าวต่ออีกว่า ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุข มีบุคลากรทั้งสายวิชาชีพและสายสนับสนุนรวม 21 สายงานปฏิบัติงานในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวอยู่ในโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศมากถึง 138,183 คน เป็นสายงานที่จำเป็นต่อระบบบริการสุขภาพประมาณ 30,000 คนหน่วยบริการต่างๆ เสี่ยงต่อการสูญเสียกำลังคนเหล่านี้จากระบบบริการสูง จากการลาออก หากทุกฝ่ายไม่ยังไม่ใสใจแก้ไขปัญหานี้จริงจัง จะส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกทั้งโรงพยาบาลต้องใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลเป็นค่าจ้างบุคลากรเหล่านี้แทนงบประมาณแผ่นดินจึงไม่ได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านงบประมาณแต่อย่างใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น