นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ |
นายแพทย์ณรงค์กล่าวว่า ทิศทางการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขจากนี้ไป จะเน้นในเรื่องการบูรณาการการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในสถานบริการทุกระดับให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ตั้งแต่ระดับปฐมภูมิคือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปจนถึงศูนย์เชี่ยวชาญระดับสูง มีความเชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่ายที่มีคุณภาพเหมือนกันทั่วประเทศ ประชาชนได้รับบริการมาตรฐานเดียวกัน เป็นบริการที่ไร้รอยต่อ ให้การดูแลประชาชนอย่างเบ็ดเสร็จภายในเครือข่าย ขณะนี้ได้จัดทำแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปีงบประมาณ 2555 – 2559 แล้วเสร็จสมบูรณ์แบบ ตั้งเป้าหมาย 5 เรื่อง คือ
- ลดอัตราป่วย
- ลดอัตราตาย
- ประชาชนได้รับบริการมาตรฐาน
- เข้าถึงบริการง่าย
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณ
นายแพทย์ณรงค์กล่าวต่อว่า ตามแผนดังกล่าวจะมี 3 ยุทธศาสตร์ คือ
- พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิรองรับการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองและผู้สูงอายุ ซึ่งมีปัญหาโรคเรื้อรัง โรคจากความเสื่อมของร่างกาย และสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น
- พัฒนาโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปทุกจังหัวดรวม 113 แห่ง ให้ศูนย์เชี่ยวชาญระดับสูง รักษาผู้ป่วยโรคที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ใน 4 สาขาได้แก่ ระบบหัวใจและหลอดเลือด อุบัติเหตุ ทารกแรกเกิด และมะเร็ง และ3.พัฒนาโรงพยาบาลทุกระดับรวม 10,863 แห่ง ให้มีภารกิจดูแลผู้ป่วยเกื้อหนุนกันภายในเครือข่าย
ในปี 2556 นี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำแผนพัฒนาระบบบริการโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศ 10 สาขา โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการตาย ลดระยะเวลารอคอย ระบบการส่งต่อในและนอกเครือข่าย และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ไม่จำเป็น ได้แก่
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- อุบัติเหตุ
- ทารกแรกเกิด
- มะเร็ง
- จิตเวช
- การผ่าตัดสาขาหลัก คือสูติ-นรีเวช ศัลยศาสตร์ กุมาร และกระดูก
- บริการปฐมภูมิ ทุตยภูมิ และสุขภาพองค์รวม
- ทันตกรรม
- ไตและตา
- โรคไม่ติดต่อได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขให้ได้มาตรฐาน ได้ตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบเครือข่ายระดับประเทศ และมีคณะกรรมการบริหารระดับพื้นที่ โดยแบ่งเป็น 12 เครือข่าย แต่ละเครือข่ายประกอบด้วย 4-8 จังหวัด ดูแลประชากรประมาณ 5 ล้านคน จัดทำแผนพัฒนาระบบบริการของเครือข่าย ทั้งแผนลงทุนทั้งด้านอาคารสิ่งก่อสร้าง ครุภัณฑ์การแพทย์ที่จำเป็น และแผนกำลังคนภาคบริการให้เพียงพอ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขของประเทศให้เกิดประสิทธิภาพ ประชาชนป่วยลดลง อายุยืน เป็นฐานในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น