ลูกที่เป็นเด็กเล็กที่มีความเสี่ยงป่วยด้วยโรค "ปอดบวม"
ได้ง่าย โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส
ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจจนเกิดอาการอักเสบบริเวณเนื้อปอด
และหลอดลม
จัดเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กที่รุนแรงและเป็นปัญหาสำคัญของ
ประเทศไทยและทั่วโลก บางครั้งอาจทำให้เกิดความพิการ
และหากป่วยรุนแรงมีความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ซึ่งส่วนใหญ่เด็กจะป่วยด้วยโรคปอดบวมมากในช่วงฤดูฝน หรือปลายฝนต้นหนาว
พบ ว่าปีหนึ่งๆ มีเด็กทั่วโลกกว่า 2 ล้านคนเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม หรือผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตจากโรคปอดบวม 1 คน ทุก 15 วินาที สำหรับประเทศไทยในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ป่วยเป็นโรคปอดบวมกว่า 1 แสนคนและเสียชีวิตกว่า 100 คน จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่าในปี 2555 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 – 1 กรกฎาคม 2555 มีผู้ป่วยโรคปอดบวมในทุกกลุ่มอายุจำนวน 81,311 ราย เสียชีวิต 546 ราย ในจำนวนนี้กลุ่มที่ป่วยเด็กเล็กอายุ 1 ปี มีประมาณร้อยละ 9.54 พื้นที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงต้องเฝ้าระวังกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงดังนี้
พบ ว่าปีหนึ่งๆ มีเด็กทั่วโลกกว่า 2 ล้านคนเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม หรือผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตจากโรคปอดบวม 1 คน ทุก 15 วินาที สำหรับประเทศไทยในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ป่วยเป็นโรคปอดบวมกว่า 1 แสนคนและเสียชีวิตกว่า 100 คน จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่าในปี 2555 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 – 1 กรกฎาคม 2555 มีผู้ป่วยโรคปอดบวมในทุกกลุ่มอายุจำนวน 81,311 ราย เสียชีวิต 546 ราย ในจำนวนนี้กลุ่มที่ป่วยเด็กเล็กอายุ 1 ปี มีประมาณร้อยละ 9.54 พื้นที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงต้องเฝ้าระวังกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงดังนี้
- เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี
- เด็กที่มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย เด็กคลอดก่อนกำหนด
- เด็กที่มีภาวะทุโภชนาการ
- เด็กที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคทางสมอง
- เด็กที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรืออยู่ในชุมชนแออัด สุขาภิบาลไม่ดี
- เด็กที่ได้รับควันบุหรี่จากบุคคลรอบข้าง
- เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีจำนวนเด็กมาก ๆ
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องกระตุ้นให้แม่หรือผู้ดูแลเด็กทราบถึงวิธีการดูแลและป้องกันโรคปอดบวมในเด็ก โดยมีคำแนะนำ สำคัญในการป้องกันโรคปอดบวมในเด็กดังนี้
- หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปอยู่ในสถานที่เสี่ยง เช่น โรงพยาบาล โรงหนัง ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่มีคนมาชุมนุมกันหนาแน่น
- กรณีที่เด็กป่วยมีอาการของไข้หวัด ให้หยุดเรียน พักผ่อนรักษาที่บ้านจนกว่าจะหาย
- ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะให้เด็กรับประทานเอง ควรปรึกษาสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านเพื่อให้การรักษาอย่างถูกต้อง
- ดูแลสุขภาพเด็กให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ และรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง
- หัดให้เด็กมีนิสัยหมั่นล้างมือบ่อยๆ ก่อนรับประทานอาหาร หลังจับต้องสิ่งของสกปรกและหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
- ผู้ดูแลเด็กที่ป่วยมีไข้ ไอ จาม ควรใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากหรือจมูก หรือสวมหน้ากากอนามัย และหมั่นล้างมือบ่อยๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น