รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้กรมควบคุมโรคออกประกาศแนะนำการป้องกันโรคฤดูฝนที่พบบ่อย 17 โรค เช่น ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม ไข้เลือดออก มาลาเรีย ฉี่หนู มือเท้าปาก เป็นต้น เผยตลอดฤดูฝนในปี 2555 ทั่วประเทศพบป่วยเกือบ 9 แสนคน เสียชีวิต 764 คน อันดับ 1 จากโรคปอดบวม ไข้เลือดออก โรคฉี่หนู และกินเห็ดพิษ แนะนำประชาชนออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาความอบอุ่นร่างกายเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานโรค และป้องกันโรคด้วยสุขอนามัยที่ดี กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ฟรี ที่รพ.ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม อากาศมีความชื้นสูง และอาจเกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลันได้ ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งยังมีปัญหาประชาชนกินเห็ดพิษ หรือสัตว์มีพิษหนีน้ำ เช่นงู ตะขาบ แมงป่อง ได้ให้กรมควบคุมโรค ออกประกาศเรื่องการป้องกันโรคในฤดูฝน ส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ในการดูแลสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วย และได้เน้นย้ำให้โรงพยาบาลทุกแห่ง ให้ความสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวมรุนแรง เพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่อจากเชื้อโคโรน่าไวรัส และไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช 7 เอ็น 9 และเอช 5 เอ็น 1 ขอให้แพทย์ตรวจคัดกรองและซักประวัติของผู้ป่วยโดยละเอียด แม้ว่าในไทยจะยังไม่พบผู้ป่วยก็ตาม
นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม อากาศมีความชื้นสูง และอาจเกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลันได้ ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งยังมีปัญหาประชาชนกินเห็ดพิษ หรือสัตว์มีพิษหนีน้ำ เช่นงู ตะขาบ แมงป่อง ได้ให้กรมควบคุมโรค ออกประกาศเรื่องการป้องกันโรคในฤดูฝน ส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ในการดูแลสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วย และได้เน้นย้ำให้โรงพยาบาลทุกแห่ง ให้ความสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวมรุนแรง เพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่อจากเชื้อโคโรน่าไวรัส และไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช 7 เอ็น 9 และเอช 5 เอ็น 1 ขอให้แพทย์ตรวจคัดกรองและซักประวัติของผู้ป่วยโดยละเอียด แม้ว่าในไทยจะยังไม่พบผู้ป่วยก็ตาม
ทางด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคที่มักมาพร้อมฤดูฝนและน้ำท่วมที่พบบ่อยมี 5 กลุ่ม รวม 17 โรค ได้แก่
- กลุ่มโรคทางเดินหายใจ ที่พบบ่อย 5 โรค ได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในอากาศ ติดต่อกันง่ายทางการไอจาม โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่นผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ หากป่วยเป็นปอดบวมอาจเสียชีวิตได้ โดยจะมีอาการที่สังเกตได้คือมีไข้สูง หายใจเร็ว หรือเหนื่อยหอบ
- โรคติดต่อทางน้ำและอาหาร ที่พบบ่อยคือการกินเห็ดพิษที่ในช่วงหน้าฝนจะขึ้นเองตามธรรมชาติในป่า และอาจเกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่ทำให้มีความเสี่ยงที่ประชาชนจะบริโภคน้ำดื่มหรือกินอาหารที่ไม่สะอาดหรือมีเชื้อโรคปนเปื้อน ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหาร เช่น โรคท้องเดินหรืออุจจาระร่วง อหิวาตกโรค บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ เป็นต้น
- โรคที่เกิดจากยุงและสัตว์ต่างๆ มี 4 โรคที่พบบ่อย คือไข้เลือดออกจากเชื้อไวรัสในยุงลายตามบ้านและบริเวณบ้าน โรคมาลาเรียซึ่งมียุงก้นปล่องที่อาศัยอยู่ในป่ากัด โรคไข้สมองอักเสบ เจ อี (Japanese Encephalitis) เกิดจากถูกยุงรำคาญซึ่งมักอยู่ในแหล่งน้ำในทุ่งนากัด และโรคเลปโตสไปโรซิสหรือโรคไข้ฉี่หนู ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในฉี่หนู สุนัข โค กระบือ และสัตว์ฟันแทะต่างๆ เชื้อจะปะปนในดินโคลนที่ชื้นแฉะ ทั้ง 4 โรคจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะมาก โดยโรคฉี่หนูจะมีอาการเด่นคือ ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่น่องและโคนขาอย่างรุนแรง ตาแดง
- โรคที่เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสคอกซากีไวรัส เอนเทอโรไวรัส ซึ่งพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีได้ประปรายทั้งปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในฤดูฝน โดยเฉพาะในศูนย์เด็กเล็กต่างๆ
- โรคที่มักเกิดในภาวะน้ำท่วมมี 2 โรค ได้แก่ โรคตาแดงจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกเข้าตา โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อรา จากการทำงานที่ต้องลุยในน้ำสกปรกนานๆ หรือเดินลุยน้ำท่วมขังในช่วงที่มีฝนตก ใส่รองเท้าอับชื้น และถูกสัตว์มีพิษกัด เช่น งู ตะขาบ แมงป่องที่หนีน้ำมาอาศัยในบ้านเรือน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น