หมอประดิษฐ เผยผลการหารือกลุ่มแพทย์ชนบทลงตัว “ตั้งคณะทำงาน 1 ชุด” ปรับปรุงข้อจำกัด การทำ พีฟอร์พี และจัดมาตรการ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ให้เสร็จภายใน 60 วัน ใช้เกณฑ์ตัดสินด้วยเหตุผล ก่อนเริ่มดำเนินการ 1 ตุลาคม 2556
วันนี้ (6 มิถุนายน 2556) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมปรึกษาหารือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับกลุ่มแพทย์ชนบท โดยมี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นตัวกลางในการประสาน ว่า จะนำเรื่องที่ได้หารือในวันนี้ เสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรในสัปดาห์หน้านี้ เป็นรายงานความคืบหน้าของผลการปรึกษาหารือที่ทุกฝ่ายเห็นด้วยกับหลักการของระบบค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน หรือ พีฟอร์พี (P4P) ว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพการบริการต่างๆซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เห็นด้วยว่าการรั้งบุคลากรทางการแพทย์ให้อยู่ในชนบท ซึ่งมาตรการหนึ่งที่จำเป็นคือมาตรการทางการเงิน และเห็นด้วยว่าต้องมีมาตรการลดความเหลื่อมล้ำของรายได้บุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ไม่ได้คิดจะดึงผู้ที่มีรายได้สูงลงมา แต่จะหาวิธีฉุดผู้ที่มีรายได้น้อยขึ้นไป ซึ่งการทำพีฟอร์พี เป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยได้
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมเข้าใจตรงกันว่า การทำพีฟอร์พี มีบริบทในการทำงานของแต่ละสถานบริการมีความแตกต่างกัน หลักการที่สำคัญที่สุดคือต้องมีกติกากลางกำหนดขึ้นมา เพื่อให้แต่ละหน่วยงานใช้ดำเนินการ ไม่ให้มีความแตกต่างหรือเกิดปัญหามากขึ้น เช่น ด้านความมั่นคง ไม่ใช้เงินมากเกินไป ขณะที่มีปัญหาค่าใช้จ่ายในสถานพยาบาลอยู่แล้ว สามารถนำรายละเอียดปลีกย่อยไปปรับให้เหมาะสมกับหน่วยบริการแต่ละระดับได้ ดังนั้นเมื่อมีความเห็นตรงกัน จึงได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อทำหน้าที่ 2 ประการ คือ
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อว่า สำหรับสัดส่วนของคณะทำงาน จะต้องมาจากบุคลากรวิชาชีพ สถานบริการแต่ละระดับ เนื่องจากพีฟอร์พีเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหลายวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม กลุ่มแพทย์ชนบทได้ขอทีมเข้าไปนั่งมากกว่าที่ตั้ง เพราะอาจจะมีหลายท่านเข้าใจ ซึ่งทางเราก็ยินดี แต่ให้มีจำนวนที่พอสมควร โดยจะถือหลักการทำงานด้วยเหตุและผล ไม่ใช้วิธีการตัดสินด้วยเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งกำหนดไว้ว่าจะดำเนินการให้ได้ข้อสรุปภายใน 60 วัน เตรียมพร้อมก่อน 2 เดือน ก่อนที่จะดำเนินการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 1 ตุลาคม 2556
วันนี้ (6 มิถุนายน 2556) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมปรึกษาหารือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับกลุ่มแพทย์ชนบท โดยมี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นตัวกลางในการประสาน ว่า จะนำเรื่องที่ได้หารือในวันนี้ เสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรในสัปดาห์หน้านี้ เป็นรายงานความคืบหน้าของผลการปรึกษาหารือที่ทุกฝ่ายเห็นด้วยกับหลักการของระบบค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน หรือ พีฟอร์พี (P4P) ว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพการบริการต่างๆซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เห็นด้วยว่าการรั้งบุคลากรทางการแพทย์ให้อยู่ในชนบท ซึ่งมาตรการหนึ่งที่จำเป็นคือมาตรการทางการเงิน และเห็นด้วยว่าต้องมีมาตรการลดความเหลื่อมล้ำของรายได้บุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ไม่ได้คิดจะดึงผู้ที่มีรายได้สูงลงมา แต่จะหาวิธีฉุดผู้ที่มีรายได้น้อยขึ้นไป ซึ่งการทำพีฟอร์พี เป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยได้
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมเข้าใจตรงกันว่า การทำพีฟอร์พี มีบริบทในการทำงานของแต่ละสถานบริการมีความแตกต่างกัน หลักการที่สำคัญที่สุดคือต้องมีกติกากลางกำหนดขึ้นมา เพื่อให้แต่ละหน่วยงานใช้ดำเนินการ ไม่ให้มีความแตกต่างหรือเกิดปัญหามากขึ้น เช่น ด้านความมั่นคง ไม่ใช้เงินมากเกินไป ขณะที่มีปัญหาค่าใช้จ่ายในสถานพยาบาลอยู่แล้ว สามารถนำรายละเอียดปลีกย่อยไปปรับให้เหมาะสมกับหน่วยบริการแต่ละระดับได้ ดังนั้นเมื่อมีความเห็นตรงกัน จึงได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อทำหน้าที่ 2 ประการ คือ
- ปรับปรุงกฎระเบียบ ข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาอุปสรรคหรือไม่สอดคล้องแต่ละพื้นที่หรือระดับสถานบริการให้ชัดเจน เพื่อเป็นหลักการที่ทุกคนต้องทำ เพื่อพัฒนาพีฟอร์ฟีให้เหมาะสมกับบริบทของสถานบริการแต่ละระดับ และให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข อยู่ในระบบได้
- คิดมาตรการชดเชย เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากการทำพีฟอร์พี ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ได้แก่ผู้ต้องการจะทำพีฟอร์พีแต่ไม่ได้ทำ อันเนื่องจากความไม่พร้อมของกระทรวงสาธารณสุข ที่ไม่สามารถสนับสนุนการทำพีฟอร์พีได้ แต่มาตรการนี้จะไม่ครอบคลุมถึงผู้ที่ตั้งใจต่อต้านหรือจะไม่ทำ เพราะจะเป็นอันตรายทางด้านจริยธรรม
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อว่า สำหรับสัดส่วนของคณะทำงาน จะต้องมาจากบุคลากรวิชาชีพ สถานบริการแต่ละระดับ เนื่องจากพีฟอร์พีเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหลายวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม กลุ่มแพทย์ชนบทได้ขอทีมเข้าไปนั่งมากกว่าที่ตั้ง เพราะอาจจะมีหลายท่านเข้าใจ ซึ่งทางเราก็ยินดี แต่ให้มีจำนวนที่พอสมควร โดยจะถือหลักการทำงานด้วยเหตุและผล ไม่ใช้วิธีการตัดสินด้วยเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งกำหนดไว้ว่าจะดำเนินการให้ได้ข้อสรุปภายใน 60 วัน เตรียมพร้อมก่อน 2 เดือน ก่อนที่จะดำเนินการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 1 ตุลาคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น