นายวิทยา บุรณศิริ |
นายวิทยา กล่าวว่า ขณะนี้มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 16 จังหวัด กว่าร้อยละ 50 อยู่ในภาคกลาง ซึ่งเป็นลักษณะของน้ำไหลหลาก ได้กำชับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ประสบอุทกภัย ออกให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างใกล้ชิด โดยจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการวันละ 30 ทีม ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 9 - 21 กันยายน 2555 พบผู้ป่วยสะสม 25,369 ราย เฉลี่ยวันละเกือบ 2,000 ราย โรคที่พบมากอับดับ 1 คือ ปวดศีรษะ ร้อยละ 50 รองลงมาคือ น้ำกัดเท้า และไข้หวัด ประมาณร้อยละ 30 และ
ได้ประเมินด้านสุขภาพจิต ผู้ประสบภัย
โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงจากภาวะน้ำท่วม เช่น ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว
และผู้ทรัพย์สินเสียหายจากน้ำท่วมเกือบ 5,000 ราย พบเครียดสูง 111 ราย ต้องติดตามดูแลใกล้ชิด 38 ราย ซึ่งอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่และอสม.
สถานการณ์อุทกภัยของจังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 5 อำเภอ 27 ตำบล 153 หมู่บ้าน 9 ชุมชน ประกอบด้วย
- อำเภอกบินทร์บุรี 11 ตำบล 27 เทศบาล 153 หมู่บ้าน 9 ชุมชน
- อำเภอศรีมหาโพธิ 8 ตำบล 41 หมู่บ้าน
- อำเภอนาดี 5 ตำบล 19 หมู่บ้าน
- อำเภอบ้านสร้าง 2 ตำบล 6 หมู่บ้าน
- อำเภอเมืองปราจีนบุรี 1 ตำบล 11 หมู่บ้าน
- อำเภอกบินทร์บุรี มี 2 แห่ง คือ รพ.สต.หาดนางแก้ว ต.หาดนางแก้ว และ รพ.สต.ย่านรี ต.ย่านรี
- อำเภอศรีมหาโพธิ มี 2 แห่ง คือ รพ.สต.ท่าตูม ต.ท่าตูม และ รพ.สต.บ้านทาม ต.บ้านทาม
- อำเภอเมืองปราจีนบุรี มีจำนวน 2 แห่ง คือ รพ.สต.สนทรีย์ ต.วัดโบสถ์ และ รพ.สต.บางบริบูรณ์ ต.บางบริบูรณ์
อย่างไรก็ดีกระแสน้ำท่วมขณะนี้ไหลเชี่ยว
สภาพน้ำขุ่นแดงมีสิ่งปนเปื้อนจำนวนมาก เสี่ยงต่อการจมน้ำตายและโรคตาแดง
โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กซึ่งชอบลงเล่นน้ำท่วมขังปรากฏทางสื่อ จึง
ขอฝากเตือนผู้ปกครองให้ดูแลบุตรหลานเป็นพิเศษ
หากเป็นไปได้ควรห้ามลงเล่นน้ำและหากน้ำท่วมกระเด็นเข้าตา
รีบล้างหน้าด้วยน้ำสะอาดโดยเร็ว ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคลมชัก
หรือลมบ้าหมู โรคหัวใจ หรือผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำท่วมหรือออกหาปลาโดยลำพัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น