วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ครบ 5 ปีของการให้สิทธิผู้ป่วยไตวาย


 พล.ท.นพ.ถนอม สุภาพร อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการผู้ป่วยไตวายเรื้องรังด้วยวิธีทดแทนไตผ่านทางช่องท้อง (CAPD) ในโอกาสใกล้ครบ 5 ปีของการให้สิทธิผู้ป่วยไตวายของรัฐบาลว่า ได้เคยทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง การทดแทนไตผ่านทางช่องท้อง กับการฟอกเลือด ร่วมกับสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) พบว่า ข้อดีของ CAPD มีมากกว่าการฟอกเลือด เพราะทำให้ผู้ป่วย CAPD สามารถควบคุมน้ำและขจัดของเสียในร่างกายได้ดีกว่า โดยผู้ป่วยทั้งสองวิธีมีอัตราการรอดชีวิตไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตตามพยาธิสภาพของโรคเหมือนผู้ป่วยมะเร็ง หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ และความจำเป็นต้องใช้ยากระตุ้นการสร้างเม็ดลือดแดงซึ่งเป็นยาราคาแพงและผู้ป่วยโรคไตต้องใช้ประจำ ผู้ป่วย CAPD ใช้ยาน้อยกว่า ผลลัพธ์ถ้าได้รับการปลูกถ่ายไตจะดีกว่า

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

“วิทยา” เผยผู้สูงอายุและญาติ พอใจโครงการทางด่วน 70 ปีไม่มีคิว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยผู้สูงอายุและญาติ พึงพอใจโครงการ 70 ปีไม่มีคิว ในระดับดีถึงดีมากถึงร้อยละ 92 เนื่องจากได้พบหมอเร็วกลับบ้านเร็วกว่าเดิม เฉลี่ยใช้เวลาบริการเพียง 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยพบว่าอัตราการใช้บริการของผู้สูงอายุในแผนกผู้ป่วยนอกและใน สูงกว่ากลุ่มวัยอื่นถึง 2 เท่าตัว

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

“วิทยา”ให้ทุกจังหวัดเร่งขับเคลื่อน 7 นโยบาย

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดประชุมวิชาการพยาบาลชุมชนระดับชาติ ประจำปี 2555 จัดโดยสำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพในชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะการสร้างเสริมให้ประชาชนทุกเพศ ทุกวัยมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย
นายวิทยากล่าวว่า ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการพัฒนาบริการต่างๆ ซึ่งในปี 2555 นี้เน้นหนัก 7 เรื่อง โดยให้ทุกจังหวัด และสถานบริการในสังกัดทุกแห่ง เร่งดำเนินการให้เห็นผลภายใน 4 เดือน ได้แก่ 

“วิทยา”เตรียมดันสมุนไพรมาตรฐานเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติให้ได้ 100 รายการภายในปี 2558


 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เดินหน้าส่งเสริมการใช้การแพทย์แผนไทย สมุนไพรไทย โดยให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับ เพิ่มบริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกด้วยแพทย์แผนไทยและใช้ยาสมุนไพร เริ่มในปีนี้ ให้ได้ร้อยละ 10 ของผู้รับบริการทั้งหมด และเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ในปีหน้า โดยในปี 2555 จะเพิ่มยาสมุนไพรเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติอีก 4 รายการ และให้ได้ 100 รายการภายในปี 2558 เพื่อใช้แทนยาแผนปัจจุบัน 

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

“วิทยา” ให้หน่วยบริการเพิ่มการสื่อสารสาธารณะ ลดโรค ลดป่วย


นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข บรรยายพิเศษ “นโยบายการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงสาธารณสุข” ในการประชุมโครงการพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ ...สู่โรงพยาบาลชุมชน ครั้งที่ 3  โดยมีนักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพและผู้ปฎิบัติหน้าที่ประชาสัมพันธ์จากโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุมกว่า200คน

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รมช.สุรวิทย์ เยี่ยมผู้บาดเจ็บจากเหตุโรงงานระเบิดที่มาบตาพุด


นายแพทย์สุรวิทย์
นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้ากรณีเหตุการณ์ระเบิดและเพลิงไหม้โรงงาน บริษัทกรุงเทพ ซินธิติกส์ (BST) ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยองว่า ในวันนี้ เวลา 07.30 น. ได้รับรายงานว่ามีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวน 137 ราย  โดยเป็นผู้เสียชีวิต จำนวน 12ราย  ดังนี้ ที่โรงพยาบาลระยอง เสียชีวิต 1 ราย คือนายไชโย อักษรศรี   ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ-ระยองเสียชีวิต 2 ราย  คือ นายสนม น้อยจำนง และนายสมพงษ์ พรหมขำ ที่เหลืออีก 9 รายเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ได้แก่ ว่าที่ร้อยตรีหัสนัย จันทร์เศรษฐี นายนพพล รุ่งระวี นายศรายุทธ อุนายา นายวัชรากร บุญทวีตระกูล นายขวัญประชา ชาติไทย นายธีรยุทธ จันทร์สิงห์ นายมานพ กลูไข่  นายเอกสิทธิ บุพโกสุม มีอีก 1 รายยังไม่ทราบชื่อ

จำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในไทยเฉลี่ยเพิ่มชั่วโมงละ 2 ราย


นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคหัวใจของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตติดอันดับ 1 ใน 3 ของการตายทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดคือ โรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งมักเป็นอย่างเฉียบพลัน จากการประมาณการพบว่ามีผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดจำนวน 177 ราย ต่อประชากร 100,000 ราย คาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละ 21,700 ราย เฉลี่ยเพิ่มชั่วโมงละ 2 ราย ในปี 2553 มีผู้ป่วยโรคนี้นอนพักรักษาในโรงพยาบาลทั่วประเทศ 253,016 ราย และมีผู้เสียชีวิต 13,037 รายเฉลี่ยชั่วโมงละ 1 ราย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องเร่งดำเนินการป้องกันและพัฒนาระบบบริการรักษาพยาบาลเพื่อลดการเสียชีวิต ทั้งนี้ ก่อนที่จะเป็นโรคหัวใจ ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 70 มักจะมีปัญหาความอ้วนมาก่อนหรือมีไขมันในเลือดสูง

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สธ.เร่ง ดูแลความปลอดภัยอาหาร ป้องกันการเจ็บป่วย

นายวิทยา บุรณศิริ
นายวิทยา บุรณศิริ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข ว่า ในวันนี้เป็นการประชุมเพื่อเร่งรัดและติดตามการดำเนินงานยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นตามนโยบายรัฐบาลในการดูแลสุขภาพของประชาชน ที่แต่ละกรมได้มอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการดูแลกลุ่มเด็ก 0 5 ปี ที่รัฐบาลและนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เร่งรัดให้เร่งดำเนินการในการสร้างพัฒนาการเด็กในกลุ่มนี้ให้เหมาะสมตามวัยที่ควรได้รับ เพราะขณะนี้ทั่วโลกเน้นเรื่องของการดูแลเด็กและสตรี ได้มอบให้กรมอนามัย กรมสุขภาพจิตดูแลเน้นที่ศูนย์เด็กเล็กของชุมชนที่อยู่ในความดูแลของท้องถิ่น และการดูแลผู้สูงอายุ โดยจัดบริการ 70 ปีไม่มีคิวในโรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับ รวมทั้งในกลุ่มที่มีความเสี่ยงเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจสูงอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มแม่และเด็ก   เด็กปฐมวัยและวัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน และผู้พิการ